วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร ได้ รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และเนิน เขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะ แปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้ เส้นทาง 2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้ม อีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจาก โขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่

เสาเฉลียง

เสาเฉลียง ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 จากจังหวัดอุบลราชธานี ไปอำเภอพิบูลมังสาหาร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 2222 ไปอำเภอโขงเจียม จากอำเภอโขงเจียมใช้เส้นทางสาย 2134 (โขงเจียม - ศรีเมืองใหม่) ประมาณ 5 กิโลเมตร แยกขวา เข้าเส้นทางสาย 2112 อีกประมาณ 9 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปผาแต้ม จะถึงเสาเฉลียงประมาณ 1.5 กิโลเมตรก่อนถึงผาแต้ม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี เสาเฉลียงเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สืบเนื่องมาจากกระบวนการกัดเซาะและกัดกร่อนด้วยอิทธิพลของน้ำและลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสึกกร่อนโดยแม่น้ำหรือธารน้ำไหลกัดเซาะเป็นเวลาชั่วนาตาปี เกิดขึ้นในชั้นหินที่วางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบและในแต่ละชั้นมีส่วนประกอบของแร่ที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีความแข็งและทนทานที่ไม่เหมือนกัน ประติมากรรมชิ้นเอกร่วมกันของหินทราย 2 ยุค คือ หินทรายยุค ครีเตเซียส ซึ่งมีอายุประมาณ 130 ล้านปี เป็นส่วนดอกเห็ดอยู่ท่อนบน และหินทราย ยุคไดโนเสาร์ มีอายุประมาณ 180 ล้านปี เป็นส่วนต้น เสาหินท่อนล่างโดยผ่านการถูกชะล้างพังทลายอันเกิดจากสภาพอากาศ ฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี ซึ่งคุณสมบัติทางธรณีวิทยาของหินทรายนั้นง่ายต่อการสึกกร่อนกว่าหินชนิดอื่นที่จัดอยู่ในกลุ่มหินชึ้นเดียวกัน และเมื่อผ่านการสึกกร่อนไปได้ระยะหนึ่งก็มีสิ่งที่เรียกว่า กระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ และแรงกดทับของเม็ดฝนทำให้หินทรายแข็งยิ่งขึ้น เป็นผลให้สามารถรักษาสภาพให้คงรูปได้ดังที่เห็นอยู่ในรูปข้างๆนี้ "เสาเฉลียง" แผลงมาจาก "สะเลียง" แปลว่า "เสาหิน"

ภาพเขีนสีโบราณ
บริเวณด้านล่างของผาแต้มมีภาพเขียนสี ก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่เป็นระยะ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี ทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ที่หน้าผาด้านล่าง ระยะทางประมาณ 500 เมตร ภาพเขียนจะอยู่บนผนังหน้าผายาวติดต่อกันประมาณ 180 เมตร ซึ่งเป็นมุมต่ำกว่า 90 องศา มีภาพทั้งหมด ประมาณ 300 ภาพ แบ่งเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ภาพคนทำนา ภาพสัตว์ ภาพมือ ภาพลายเรขาคณิต และภาพตุ้ม (เครื่องมือจับปลาของชาวประมงริมโขง) ด้านตรงข้ามผา แต้มคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะชม พระอาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทย ในบริเวณดังกล่าวในลักษณะเดียวกันกับที่หมู่บ้านเวินบึกที่ตั้ง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงไม่ไกลจากบริเวณแม่น้ำสองสีมากนัก ซึ่งทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่อง เที่ยวเป็นจำนวนมาก ภาพเขียนโบราณแบ่งเป็น 4 ชุดใหญ่ๆ ชุดที่สวยและชัดเจนที่สุดคือ ชุดที่ 2 ได้แก่
ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มที่ 1(ผาขาม)
ภาพเขียนสีกลุ่มที่ 2 ผาแต้ม
ภาพเขียนสีกลุ่มที่ 3 ผาหมอนล่าง
ภาพเขียนสีกลุ่มที่ 4 ผาหมอน
น้ำตกสร้อยสวรรค์
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมีแอ่งน้ำที่สามารถลงเล่นน้ำได้ จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนมิฟถุนายน - ธันวาคม เกิดจากลำธาร 2 สาย คือ ห้วยสร้อย น้ำตกในลักษณะแนวบันไดและห้วยสะหนม น้ำจะตกลงในแนวดิ่งหน้าผาทำมุม 90 องศา ซึ่งทั้งสองสายจะไหลมาบรรจบกันในเบื้องล่าง มองดูลักษณะคล้ายสายสร้อยสูงราว 50 - 90 เมตร กว้างราว 30 เมตร ก่อนไหลลงสู่ลำน้ำโขง ในบริเวณไม่ไกลนัก หากท่านมาช่วงต้นฤดูหนาว จะได้พบกับทุ่งดอกไม้ขาดใหญ่ หลายจุด สร้อยสุวรรณา ดอกมณีเทวา ดอกหางเสือ ดอกดุสิตา ดอกหยาดน้ำค้าง ฯลฯ
น้ำตกทุ่งนาเมือง
น้ำตกทุ่งนาเมืองเป็นอีกหนึ่งในน้ำตกที่ถูกซ่อนเร้นไว้เคียงคู่กับเถาวัลย์ยักษ์ อายุนับพันปี น้ำตกแห่งนี้ก็อยู่ในเส้นทางเดียวกันกับ น้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกแสงจันทร์ ทางเดินทางต่อไปอีกสัก ๑ กม. ก็จะถึงน้ำตกทุ่งนาเมือง แต่หลายคนและหลาย ๆ ทัวร์มักจะไปสิ้นสุดอยู่ที่น้ำตกแสงจันทร์แล้วเดินทางกลับ ถ้าท่านยังจำโฆษณาเหล้ายี่ห้อรีเจนซี่ได้ ก็จะจำภาพเถาวัลย์ยักษ์ที่ปรากฎอยู่ในภาพยนต์โฆษณาต่อจากภาพของน้ำตกแสง
น้ำตกแสงจันทร์ หรือ น้ำตกลงรู
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 41 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สูงประมาณ 8 เมตร เกิดจากลำห้วยท่าโลงไหลตกลงจากเพิงหน้าผาเป็นช่องโพรงอันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำตามธรรมชาติ ลักษณะของโพรงมองดูคล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว มีเส้นผาศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร ก่อนไหลลงสู่ลำน้ำโขง
พระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม

เส้นทางสู่ผาแต้ม
ที่มา: http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Ubon/data/place/npk_pataem.htm http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=19&lg=1 http://www.oceansmile.com/E/Ubon/patam.htm

จ.อุบลราชธานี

" อุบลเมืองแก่งสุนทรีย์ รับสุรีย์แรกอรุณ คืนนักบุญเหล่าบัวบาน งานเทศกาลเทียนพรรษา แหล่งอารยาก่อนประวัติศาสตร์ "
จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่อยู่ทางด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย โดยจังหวัดอุบลราชธานี นั้นนับได้ว่า เป็นจังหวัด ที่อยู่ทางทิศตะวันออกสุด ของประเทศไทย ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี จะเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ที่ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นก่อนเป็น ที่แรกในประเทศไทย
จังหวัดอุบลราชธานี นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ ที่ยาวนาน อีกจังหวัดหนึ่ง ของประเทศไทย ซึ่งในอดีตนั้น เมืองอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของอาณาจักรเขมร จึงทำให้จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง อย่างมากในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ กับพื้นที่มากกว่า 16,112.65 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ เป็นอันดับที่ 5 ของประเทศไทย นอกจากจังหวัดอุบลราชธานี จะเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่แล้ว ยังมีวัฒนธรรมที่งดงาม สร้างความหลงใหล แก่ผู้คนที่มาเยือน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเทศกาลแห่เทียนพรรษา ดังคำขวัญของจังหวัดที่ว่า “เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์” อาณาเขตของ จังหวัดอุบลราชธานี ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดยโสธร และจังหวัดศรีสะเกษ